5 ขั้นตอน การจ่ายภาษีป้าย ต้องทำอย่างไร
หลายคนคงจะรู้ดีว่าป้ายที่เราคุ้นเคย หรือพบเห็นตามตึกรามบ้านช่อง รวมถึงริมถนนข้างทาง จะต้องมีการจ่ายภาษีป้าย โดยรูปแบบของป้ายที่มีการชำระ ประกอบด้วยป้ายที่มีการแสดงสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ตัวอักษร วลี ข้อความต่างๆ เองก็ตาม แม้กระทั่ง ป้ายโฆษณาเพื่อการพาณิชย์ และการประชาสัมพันธ์ เชิญชวน ส่วนขั้นตอนมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
1. ภาษีป้าย คืออะไร?
ซึ่งภาษีป้ายนั้น เป็นภาษีที่มีการจัดเก็บป้ายที่มีการเผยชื่อ เครื่องหมายการค้า ข้อความ วลี ของสถานประกอบการ ผู้ทำการค้า เพื่อการพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา หรือการประชาสัมพันธ์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นป้ายไวนิล ป้ายไฟ ป้ายบิลบอร์ด ป้ายผ้าใบ ซึ่งมีการแสดงข้อความ หรือรูปภาพดังกล่าวจะต้องมีการจ่ายป้ายภาษีทั้งสิ้น
2. การจ่ายภาษี ใครเป็นคนชำระค่าภาษีดังกล่าว?
ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้ายทุกๆ ประเภท ที่ได้มีการกล่าวข้างต้น หรือผู้ที่มีการครอบครองป้าย แต่ในกรณีที่ ไม่พบหรือตามตัวผู้ครอบครองป้าย เจ้าของป้าย ให้ถือว่าเจ้าของสถานที่ ผู้ครอบครองสถานที่ที่มีการติดตั้งป้ายนั้น มีหน้าที่ในการชำระภาษีป้ายในแต่ละปีนั่นเอง
3. อัตราภาษีป้าย เท่าไหร่บ้าง?
ภาษีป้ายนั้น โดยจะมีการจัดเก็บจากองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น เพื่อนำรายได้จากการชำระภาษีของประชาชนนั้น มาพัฒนาท้องถิ่นในส่วนอื่นๆ ซึ่งเมื่อปี 2564 ได้มีการปรับอัตราภาษีป้าย เพื่อมีการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2566 โดยมีการจำแนกดังนี้
3.1 ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
ก. ป้ายที่มีข้อความแบบเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนข้อความได้ คิดอัตราที่ 10 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ข. ป้ายนอกจาก (ก) คิดอัตราที่ 5 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
3.2 ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรภาษาต่างประเทศ, รูปภาพ, เครื่องหมายสัญลักษณ์
ก. ป้ายที่มีข้อความแบบเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนข้อความได้ คิดอัตราที่ 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ข. ป้ายนอกจาก (ก) คิดอัตราที่ 50 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการคำนวณเงินภาษีค่าป้ายแล้ว ไม่ถึง 200 บาท ให้มีการชำระภาษีป้ายละ 200 บาท
4. ขั้นตอนการชำระภาษีป้ายประจำปีต้องทำอย่างไรบ้าง?
- ยื่นคำขออนุญาต แจ้งขนาดของป้าย พร้อมด้วยภาพถ่าย หรือภาพวาดเขียนจำลอง และแผนผังของสถานที่ในการติดตั้งป้าย
- ยื่นหลักฐานต่างๆ พร้อมกับการชำระป้าย (ภ.ป.1) เช่น บัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขทะเบียนการค้า, หนังสือรับ (หากเป็นนิติบุคคล), รูปถ่ายป้ายที่แสดงขนาดความกว้างxความยาว, ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย และใบเสร็จรับเงินจากปีก่อน(หากมีการยื่นชำระไปแล้ว)
- สามารถชำระได้ที่ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง, เทศบาลตำบล, เทศบาลเมือง, เทศบาลเมืองพัทยา, เทศบาลนคร, องค์การบริหารส่วนตำบล และธนาคารกรุงไทย
- หากมีค่าชำระมากกว่า 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด
- หากมีการคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้มีการเสียภาษีอย่างต่ำ 200 บาท
5. ภาษีป้าย จ่ายที่ไหนได้บ้าง
ภาษีป้าย จ่ายที่ไหน หากเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถชำระได้ที่ สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 1 (เสาชิงช้า ถนนดินสอ) ส่วนพื้นที่ภูมิภาค สามารถชำระได้ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล, เทศบาลเมืองพัทยา, เทศบาลเมือง, เทศบาลตำบล และเทศบาลนคร
6. ถ้าไม่เสียภาษีป้ายให้ตรงตามกำหนด จะเกิดอะไรขึ้น?
หากไม่มีการชำระภาษีป้ายประจำปี ตามระยะเวลาที่กำหนด จะส่งผลให้มีจะต้องมีการชำระในส่วนที่เกินเนื่องจากการชำระที่ล่าช้า ไม่ได้อยู่ในกรอบเวลา ซึ่งมีอัตราดังนี้
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายที่กำหนด ให้ชำระเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ต้องมีการเสียภาษี
- ยื่นแบบรายการแสดงภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ให้ชำระเพิ่มในอัตราร้อยละสิบของจำนวนที่ต้องมีการเสียภาษี
- ไม่ได้ทำการชำระภาษีป้ายประจำตามระยะเวลาที่กำหนด ให้ทำการชำระเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนที่ต้องมีการเสียภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
7. วิธีเลี่ยงภาษีป้าย ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ในความเป็นจริงแล้ว วิธีเลี่ยงภาษีป้าย เป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม เพราะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท
แต่อย่างไรก็ตามการไม่ชำระภาษีป้ายนั้นจะมีการยกเว้นป้ายประเภทดังนี้ ป้ายที่ติดตามอาคาร, ป้ายที่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยใช้ล้อเลื่อน, ป้ายตามงานอีเวนท์ที่มีการกำหนดระยะเวลา, ป้ายของหน่วยงานราชการ, ป้ายของวัด มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น
จบไปแล้วนะครับสำหรับ 5 ขั้นตอนการจ่ายภาษีป้ายประจำปี นับว่าการจ่ายภาษีป้าย เป็นเรื่องที่สถานประกอบการ และผู้ประกอบการควรจะให้ความสำคัญอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถยื่นเรื่องแบบถูกต้อง และสามารถทำการชำระค่าภาษีป้ายประจำปีได้ตรงเวลา และไม่ถูกให้ชำระเพิ่มส่วนต่าง เนื่องจากการชำระที่ล่าช้า หรือไม่ตรงเวลานั่นเอง
สามารถติดตามสาระดีๆ เกี่ยวกับป้าย หรือสนใจสั่งทำป้ายของทางร้าน Brother & Sister Advertising ผ่านทางเว็บไซต์ www.thebrothersign.com, เบอร์โทรศัพท์ 082-935-9425, ไอดีไลน์ @thebrothersign
บทความแนะนำ
7 ขั้นตอนการขอ ใบอนุญาตติดตั้งป้ายร้าน แบบละเอียด เข้าใจครบถ้วน บทความนี้มีคำตอบ